ทฤษฎีการศึกษาการศึกษา
หนังสือ สอนเสวนาสู่การเรียนรู้เชิงรุก
อ่าน 776 นาที
หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อชี้แนวทางจัดการเรียนรู้แบบที่เรียกว่า active learningหรือการเรียนรู้เชิงรุก โดยมีเป้าหมายเพื่อฝึกนักเรียนให้เรียนรู้จากการปฏิบัติตาม ด้วยการคิดที่เรียกว่า การใคร่ครวญสะท้อนคิด (reflection) ที่นำไปสู่การฝึกทักษะการเรียนรู้ที่นักเรียนกำกับการเรียนรู้ของตนเอง (self-directed learning) เป็น ผ่านกระบวนการ สานเสวนา (dialogue) ระหว่างนักเรียนกับครู และระหว่างนักเรียนกับเพื่อนนักเรียนด้วยกัน
เขียนโดยศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช
17 ธันวาคม 2564
บทที่ 12 กรอบปฏิบัติการที่ ๘ โต้แย้ง (Arguing)
คำว่าการโต้แย้ง (arguing) ต่างจากความขัดแย้ง (conflict) ตรงที่การโต้แย้งเป็นคำกลางๆ ไม่ขัดแย้งกัน และในที่นี้ การโต้แย้งในกระบวนการเรียนรู้ผ่านสานเสวนา ช่วยให้เกิดมุมมองที่หลากหลาย เกิดการเรียนรู้ที่ทั้งลึกและกว้างขวาง
ในสังคมไทย คนมักเข้าใจผิดคิดว่าการมีการโต้แย้งก็จะเกิดสภาพแบ่งฝักแบ่งฝ่ายขัดแย้งเป็นศัตรูกัน ครูต้องมีทักษะในการจัดการสานเสวนาและนักเรียนได้ฝึกใช้การโต้แย้งในเชิงบวก รู้สึกธรรมดาต่อการใช้ถ้อยคำเชิงโต้แย้ง หรือเมื่อเพื่อนนักเรียนโต้แย้งตน ให้นักเรียนเข้าใจว่าการโต้แย้งเป็นเครื่องช่วยการเรียนรู้ที่ลึกและเชื่อมโยง รวมทั้งต้องฝึกนักเรียนให้รู้จักวิธีใช้ถ้อยคำโต้แย้งที่สุภาพ และให้เกียรติเพื่อนที่ถูกแย้ง มีวิธีโต้แย้งในลักษณะที่เพื่อนไม่เสียหน้า
การพูดเชิงโต้แย้งมีหลายขั้นตอน หนังสือเอ่ยถึงนักวิชาการหลายสำนักที่แบ่ง ขั้นตอนละเอียดมากน้อยแตกต่างกัน ดังตัวอย่าง
- (๑) ขั้นเปิดฉาก (opening stage) โดยยกคำถาม ปัญหา ข้ออ้าง หรือข้อเสนอที่มีมาก่อน ขึ้นมาเสนอ (๒) ขั้นโต้แย้ง (argumentation stage) โดยมีการพูดโต้ตอบไปมา ยกเหตุผล ข้อมูลหลักฐาน ขึ้นมาสนับสนุน หรือแย้งวิธีการที่มีการเสนอเพื่อแก้ปัญหา หรือตอบคำถาม (๓) ขั้นปิดฉาก (closing stage) มีการชั่งน้ำหนักความเห็นและข้อมูลหลักฐาน นำไปสู่ข้อสรุปหรือทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับแก้ปัญหาหรือตอบคำถามนั้น
- (๑) ยื่นข้อเสนอ (position) (๒) ให้เหตุผล (reasons) (๓) ให้ข้อมูลหลักฐาน (evidence) (๔) พูดท้าทายข้อมูลหลักฐาน (challenges to evidence) (๕) พูดโต้คำท้าทาย (responses to challenge)
- เสนอและตรวจสอบหลายมุมมอง
๑. กำหนดคำถาม ข้ออ้าง หรือปัญหา สำหรับนำมาโต้แย้งกัน : ‘วันนี้คำถามของเราคือ...’
๒. รับผิดชอบร่วมกัน : ‘จับคู่อภิปรายกันสามนาที’
๓. ‘ต้องการเสนอบุคคลอื่นมาจัดการปัญหานี้ไหม’
๔. อภิปรายทางเลือกต่างๆ : ‘ส่วนไหนที่เธอไม่เห็นด้วย’ ‘มีคำอธิบายนี้เพียงอย่างเดียวหรือ’ ‘มีใครสามารถยกตัวอย่างที่ต่างไหม’ ‘ทางเลือก....เป็นอย่างไร’
- ใช้ภาษาและโครงสร้างที่มีความชัดเจน
๕. ช่วยให้เข้าใจความหมายชัดเจน : ‘เธอหมายความว่าอย่างนี้ใช่ไหม’ ‘เธอพูดว่า... ใช่ไหม’ ‘ที่พูดตรงกับ...ไหม’
๖. เชื่อมโยงความคิด : ‘ข้อเสนอนี้เชื่อมโยงกับที่สมคิดพูดอย่างไร’ ‘ดวงดาว เธอจะตอบดวงใจว่าอย่างไร’ ‘คำพูดนี้มีความหมายต่อคำถามตอนเริ่มอภิปรายอย่างไร’
๗. ระบุกระบวนการให้เหตุผล และ/หรือส่วนของการโต้แย้ง : ‘ที่จันทราพูดเป็นเหตุผลสนับสนุนหรือโต้แย้ง....’ ‘สนอง เธอกำลังตั้งคำถามต่อสมมติฐานของเสนอใช่ไหม’ ‘ที่พูดมานี้เป็นประเด็นที่ต่างออกไป หรือจริงๆ แล้วเป็นวิธีพูดเรื่อง ก อีกวิธีหนึ่ง’ ‘เราควรเขียนข้อเสนอของนิยมไว้ที่คอลัมน์นี้ หรืออีกคอลัมน์หนึ่ง’
๘. ทบทวนเส้นทางของการตั้งคำถาม : ‘เรามาทบทวนกันว่าเราไปถึงไหนแล้ว’ ‘เราช่วยกันเขียนรายการของเหตุผลทั้งหมดที่รวบรวมได้’ ‘ถึงตอนนี้เหตุผลไหนที่น่าเชื่อถือที่สุด’ ‘ส่วนไหนที่ตัดออกได้’
๗. ระบุกระบวนการให้เหตุผล และ/หรือส่วนของการโต้แย้ง : ‘ที่จันทราพูดเป็นเหตุผลสนับสนุนหรือโต้แย้ง....’ ‘สนอง เธอกำลังตั้งคำถามต่อสมมติฐานของเสนอใช่ไหม’ ‘ที่พูดมานี้เป็นประเด็นที่ต่างออกไป หรือจริงๆ แล้วเป็นวิธีพูดเรื่อง ก อีกวิธีหนึ่ง’ ‘เราควรเขียนข้อเสนอของนิยมไว้ที่คอลัมน์นี้ หรืออีกคอลัมน์หนึ่ง’
๘. ทบทวนเส้นทางของการตั้งคำถาม : ‘เรามาทบทวนกันว่าเราไปถึงไหนแล้ว’ ‘เราช่วยกันเขียนรายการของเหตุผลทั้งหมดที่รวบรวมได้’ ‘ถึงตอนนี้เหตุผลไหนที่น่าเชื่อถือที่สุด’ ‘ส่วนไหนที่ตัดออกได้’
- ใช้เหตุผลและข้อมูลหลักฐานที่ถูกต้องแม่นยำ
๙. ประเมินข้อเท็จจริง : ‘เรารู้เรื่องนี้ได้อย่างไร’ ‘ได้ข้อมูลนี้มาจากไหน’ ‘แหล่งข้อมูลนี้น่าเชื่อถือไหม’ ‘เรื่องนี้เป็นจริงในทุกกรณีหรือไม่’ ‘ข้อมูลหลักฐานนี้น่าเชื่อถือเพียงพอที่เราจะใช้ตัดสินใจหรือไม่’
๑๐. ประเมินคุณค่า : ‘ใครเป็นคนพูด’ ‘ที่เขาพูดน่าเชื่อถือไหม’ ‘สองเรื่องนี้เป็นจริงในเวลาเดียวกันได้ไหม’ ‘เรื่องนี้สำคัญเท่ากับเรื่องก่อนไหม’ ‘นี่เป็นข้อเท็จจริงหรือเป็นข้อคิดเห็น’
- เชื่อมโยงข้อเสนอหรือจุดยืนกับข้อมูลหลักฐานอย่างสมเหตุสมผล
๑๑. พูดบอกเหตุผล : ‘เหตุผลที่เธอว่าอย่างนั้นคืออะไร’ ‘อธิบายได้ไหมว่าทำไมเธอจึงไม่เห็นด้วย’ ‘ข้อมูลหลักฐานที่ทำให้เธอว่าอย่างนั้นคืออะไร’
๑๒. ประเมินข้อสรุป : ‘ข้อสรุปนี้ตรงกับที่อเนกพูดใช่ไหม’ ‘เราสรุปเร็วไปไหม’ ‘เธอมีสมมติฐานว่า...ใช่ไหม’ ‘เหตุผลที่ให้เพียงพอที่จะให้เรายอมรับข้อสรุปของเธอไหม’ ‘ข้อสรุปหลักการนี้ใช้ได้ไหม’
จะเห็นว่าคำพูดของครูเป็นคำถามทั้งหมด เท่ากับเป็นการ “ถามและท้าทาย” ไปในตัว ซึ่งจะชักจูงให้นักเรียน “ยืนยัน” “โต้แย้ง” “ยอมรับ” หรือ “ยอมถอน” ทั้งหมดนั้นนำไปสู่การดำเนินกระบวนการในลักษณะของการโต้แย้ง เป็นการฝึกให้นักเรียนคุ้นเคยกับการสานเสวนาแบบโต้แย้ง ดาวน์โหลดเอกสาร
นักเขียน
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช
รองประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล นายแพทย์ผู้สนใจประเด็นการศึกษา เจ้าของผลงานหนังสือเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้หลากหลายเล่ม ตั้งแต่ เลี้ยงลูกยิ่งใหญ่, วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21, สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ 21 ฯลฯ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
เนื้อหาทั้งหมด