หัวข้อคำถาม?
เกณฑ์คัดเลือก
เกณฑ์คัดเลือกเรื่องเล่าของครู
1.เนื้อหาแสดงถึง เป้าหมายการจัดการเรียนรู้ (Objective) สิ่งที่ครูออกแบบ
2.เนื้อหาแสดงถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้ (Learning Process)
3.เนื้อหาแสดงถึงวิธีการการวัดและการประเมินผลว่าเด็กได้เรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด (Evaluation)
4.ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างไร มีพัฒนาการเรียนรู้อย่างไร และเป็นเป้าไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่
5.เนื้อหาแสดงถึง "บทบาทครู" ในช่วงที่นักเรียนเจออุปสรรค ปัญหาในการเรียนรู้ ครูแก้ปัญหาอย่างไรเพื่อให้นักเรียนถึงเป้าหมายการเรียนรู้
6.วิเคราะห์การทำงานของตนเอง จาก ข้อ 1-5 เชื่อมโยงกับที่อ่านในหนังสือ
2.เนื้อหาแสดงถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้ (Learning Process)
3.เนื้อหาแสดงถึงวิธีการการวัดและการประเมินผลว่าเด็กได้เรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด (Evaluation)
4.ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างไร มีพัฒนาการเรียนรู้อย่างไร และเป็นเป้าไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่
5.เนื้อหาแสดงถึง "บทบาทครู" ในช่วงที่นักเรียนเจออุปสรรค ปัญหาในการเรียนรู้ ครูแก้ปัญหาอย่างไรเพื่อให้นักเรียนถึงเป้าหมายการเรียนรู้
6.วิเคราะห์การทำงานของตนเอง จาก ข้อ 1-5 เชื่อมโยงกับที่อ่านในหนังสือ
ชุมชนครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยงออนไลน์
ชุมชนครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยงออนไลน์ คืออะไร
คือ ชุมชนครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยงออนไลน์ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิสยามกัมมาจล และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อพัฒนาโรงเรียนแกนนำของทั้ง 2 หน่วยงาน เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ผ่านการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของ “ครู” โดยผลักดัน ให้แนวทางในหนังสือ “ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง” โดย ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ไปสู่การปฏิบัติงานของ “ครูแกนนำ” ในเครือข่าย
ทำไมจึงเชื่อมโยง หนังสือ “ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง” กับการพัฒนาครู
เพราะหนังสือ “ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง” โดย ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช (ตีความมาจากหนังสือ Visible Learning for Literacy, Grades K-12 : Implementing the Practices That Work Best to Accelerate Student Learning (2016) เขียนโดย Douglas Fisher, Nancy Frey, และ John Hattie) เป็นหนังสือที่นำเอาหลักการ Visible Learning ที่พัฒนาโดย John Hattie มาสื่อสารต่อ “ครูเพื่อศิษย์” โดยที่ Visible Learning พุ่งเป้าไปที่ผลกระทบ (impact) ที่เกิดขึ้นต่อนักเรียน และชุมชนครูเพื่อศิษย์ นำมาเป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติงานของ “ครูแกนนำ” ในเครือข่าย (อ่านหนังสือได้ที่หน้าหลัก “ทฤษฏีการศึกษา”)
ใครที่สามารถเข้าร่วมได้
ผอ.และครูในเครือข่ายมูลนิธิสยามกัมมาจลและกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และครูทั่วไป ที่มีความสนใจในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ที่มุ่งเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
สามารถเข้าร่วมได้อย่างไร
เป็นโรงเรียนในเครือข่ายของมูลนิธิสยามกัมมาจลและกองทุนเพื่อความเสมอภาคทาง(กสศ.) และเป็นโรงเรียนที่ได้รับการแนะนำจากโรงเรียนเครือข่ายของสองหน่วยงาน ให้มาร่วมเรียนรู้ในเวที Online PLC Coaching ทางช่องทาง เพจเฟสบุ๊ค : PLC Coaching
สนใจเป็นครูต้นเรื่องจะต้องทำอย่างไร
ครูสามารถเขียนเรื่องเล่าการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนตนเองที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระในหนังสือครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง ตามแนวทางการเขียนเรื่องเล่าของครูที่สอดคล้องกับเนื้อหาใน “หนังสือครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง” ดังนี้
ข้อมูล - ข้อกำหนด
1. แนะนำตนเอง เช่น ชื่อ วิชาที่สอน ระดับชั้นที่สอน ตามแบบฟอร์มการเขียนจากโครงการ
2. ระบุเรื่องเล่าครูสอดคล้องกับแนวทางหนังสือในหัวข้อ / เนื้อหาสาระใดในหนังสือที่นำไปใช้ ให้ยกขึ้นมาให้ทราบเพื่อให้ผู้อ่านทำความเข้าใจตามเนื้อหาเรื่องเล่าไปได้ด้วย (โค้ดเนื้อหาสาระที่สอดคล้องมาใส่ไว้ด้วย)
3. เล่าเรื่องในรูปแบบ Storytelling มีรูปภาพประกอบ (ภาพเดี่ยวครู 3 ภาพ ภาพบรรยากาศในห้องเรียนสะท้อนเรื่องเล่า 6-10 รูป) มีคลิปวิดีโอประกอบ
4. เขียนความยาวอย่างอิสระ (กี่หน้าก็ได้ที่สามารถสะท้อนเนื้อหาชัดเจน)
ข้อมูล -องค์ประกอบของเรื่องเล่าที่ดีประกอบด้วย
1. เนื้อหาควรแสดงถึงเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ (Objective) ที่ครูออกแบบคืออะไร
2. เนื้อหาควรแสดงถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้ (Learning Process)
3. เนื้อหาควรแสดงถึงวิธีการการวัดและการประเมินผลว่าเด็กได้เรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด (Evaluation)
4. ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างไร มีพัฒนาการเรียนรู้อย่างไร เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้หรือไม่
5. จุดโฟกัส “บทบาทของครู” ในช่วงที่นักเรียนเจออุปสรรค ปัญหาในการเรียนรู้
6. ครูแก้ไขปัญหาอย่างไรเพื่อให้นักเรียนไปถึงเป้าหมายการเรียนรู้
7. วิเคราะห์การทำงาน ของตนเอง จากข้อ 1 – ข้อ 5 เชื่อมโยงกับที่อ่านในหนังสือ
ข้อมูล - ข้อกำหนด
1. แนะนำตนเอง เช่น ชื่อ วิชาที่สอน ระดับชั้นที่สอน ตามแบบฟอร์มการเขียนจากโครงการ
2. ระบุเรื่องเล่าครูสอดคล้องกับแนวทางหนังสือในหัวข้อ / เนื้อหาสาระใดในหนังสือที่นำไปใช้ ให้ยกขึ้นมาให้ทราบเพื่อให้ผู้อ่านทำความเข้าใจตามเนื้อหาเรื่องเล่าไปได้ด้วย (โค้ดเนื้อหาสาระที่สอดคล้องมาใส่ไว้ด้วย)
3. เล่าเรื่องในรูปแบบ Storytelling มีรูปภาพประกอบ (ภาพเดี่ยวครู 3 ภาพ ภาพบรรยากาศในห้องเรียนสะท้อนเรื่องเล่า 6-10 รูป) มีคลิปวิดีโอประกอบ
4. เขียนความยาวอย่างอิสระ (กี่หน้าก็ได้ที่สามารถสะท้อนเนื้อหาชัดเจน)
ข้อมูล -องค์ประกอบของเรื่องเล่าที่ดีประกอบด้วย
1. เนื้อหาควรแสดงถึงเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ (Objective) ที่ครูออกแบบคืออะไร
2. เนื้อหาควรแสดงถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้ (Learning Process)
3. เนื้อหาควรแสดงถึงวิธีการการวัดและการประเมินผลว่าเด็กได้เรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด (Evaluation)
4. ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างไร มีพัฒนาการเรียนรู้อย่างไร เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้หรือไม่
5. จุดโฟกัส “บทบาทของครู” ในช่วงที่นักเรียนเจออุปสรรค ปัญหาในการเรียนรู้
6. ครูแก้ไขปัญหาอย่างไรเพื่อให้นักเรียนไปถึงเป้าหมายการเรียนรู้
7. วิเคราะห์การทำงาน ของตนเอง จากข้อ 1 – ข้อ 5 เชื่อมโยงกับที่อ่านในหนังสือ
ผลลัพธ์ที่ผู้เข้าร่วมได้รับ
ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้เทคนิคการจัดการเรียนการสอน จากการแชร์ประสบการณ์จากห้องเรียนทั้งจากโรงเรียนต้นเรื่องและโรงเรียนอื่นๆ ในเวที Online PLC Coaching จำนวน 12 ครั้ง และยังได้ความกระจ่างชัดจากผู้ทรงคุณวุฒิ / ผู้เชี่ยวชาญ (Mentor) ให้ข้อเสนอแนะ เติมเต็ม สามารถนำไปปรับใช้ได้ในห้องเรียนหรือโรงเรียนของตนเอง