โครงการครูเพื่อศิษย์ สร้าง
การเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง
รูปแบบออนไลน์ปี 2
โครงการความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิสยามกัมมาจล และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อพัฒนาโรงเรียนแกนนำของทั้ง 2 หน่วยงาน ในการพัฒนา PLC Online เพื่อเป็นพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันของ ผู้อำนวยการและครูในเครือข่ายของมูลนิธิสยามกัมมาจลและกสศ. สืบเนื่องจากการร่วมมือกันในการดำเนินโครงการฯ ปี 1 ทำให้เห็นแนวทางในการพัฒนา PLC Online และระบบไอทีที่เหมาะสมรองรับกับรูปแบบกิจกรรมออนไลน์ ทำให้เกิดการนำประสบการณ์ของครูและผู้อำนวยการมาแลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง กสศ.และมูลนิธิสยามกัมมาจล จึงมีแนวคิดเห็นตรงกันที่จะขยายผล รูปการทำ PLC Online ไปใช้กับทุกเครือข่ายของสำนักครู ฯ และเครือขายมูลนิธิสยามกัมมาจล จึงร่วมกันดำเนินการโครงการต่อในปีที่ 2
ความเป็นมา
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีโครงการพัฒนาโรงเรียน โดยการพัฒนา ศักยภาพ
ผู้อำนวยการและครูผ่าน “โครงการพัฒนาครูและโรงเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง”
หรือที่รู้จักกันในชื่อ “โครงการโรงเรียนพัฒนาคุณภาพตนเอง” มีเครือข่ายผู้รับทุน
จำนวน 11 เครือข่าย โดยปีแรกมีทั้งสิ้น 5 เครือข่าย ดังนี้
ผู้อำนวยการและครูผ่าน “โครงการพัฒนาครูและโรงเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง”
หรือที่รู้จักกันในชื่อ “โครงการโรงเรียนพัฒนาคุณภาพตนเอง” มีเครือข่ายผู้รับทุน
จำนวน 11 เครือข่าย โดยปีแรกมีทั้งสิ้น 5 เครือข่าย ดังนี้
1
มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา
2
มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
3
มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม
4
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กสศ.ได้นำเครือข่ายทั้ง 5 เข้าร่วมเป็นกลุ่มเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ในวงเรียนรู้ในวง PLC
Coaching Online มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการในปีที่ 1 จำนวน 290 โรงเรียน ในพื้นที่ 36 จังหวัด
Coaching Online มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการในปีที่ 1 จำนวน 290 โรงเรียน ในพื้นที่ 36 จังหวัด
3
จังหวัด
128
โรงเรียน
มูลนิธิสยามกัมมาจลมีโครงการพัฒนาโรงเรียน โดยการพัฒนาศักยภาพ
ผู้อำนวยการและครู ผ่าน โครงการพื้นที่นวัตกรรมการปฏิรูปการศึกษา
จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดระยอง และจังหวัดสตูล
โดยมีครูในโครงการจำนวน 128 โรงเรียน
ผู้อำนวยการและครู ผ่าน โครงการพื้นที่นวัตกรรมการปฏิรูปการศึกษา
จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดระยอง และจังหวัดสตูล
โดยมีครูในโครงการจำนวน 128 โรงเรียน
ผลการดำเนินงานโครงการปี 1 ได้ผลดังนี้
ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ Online PLC Coaching
ได้กลุ่มครูและผู้อำนวยการแกนนำ ในการนำแนวทางการจัดการเรียนรู้ในรูป
แบบ Online PLC Coaching ไปต่อยอดพัฒนาวง PLC ในโรงเรียนตนเอง -
โรงเรียนเครือข่าย และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเวที ไปปรับใช้กับงานของตนเอง
แบบ Online PLC Coaching ไปต่อยอดพัฒนาวง PLC ในโรงเรียนตนเอง -
โรงเรียนเครือข่าย และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเวที ไปปรับใช้กับงานของตนเอง
เกิดพลังการเรียนรู้ข้ามเครือข่าย ในการพัฒนายกระดับการจัดการเรียนรู้ ใน
รูปแบบ Active Learning ให้มีคุณภาพมากขึ้น
รูปแบบ Active Learning ให้มีคุณภาพมากขึ้น
ได้ชุดความรู้ ของ ครู ผู้อำนวยการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ในรูปแบบสื่อต่างๆ
เผยแพร่
เผยแพร่
การร่วมกันดำเนินโครงการครูเพื่อศิษย์ฯ ปี 1 ของ
2 หน่วยงาน ทำให้เห็นแนวทางในการพัฒนายก
ระดับคุณภาพครูผ่านเวทีในรูปแบบ Online PLC
Coaching ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจุบัน จึง
เห็นตรงกันในการดำเนินโครงการในปี 2 ต่อ
2 หน่วยงาน ทำให้เห็นแนวทางในการพัฒนายก
ระดับคุณภาพครูผ่านเวทีในรูปแบบ Online PLC
Coaching ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจุบัน จึง
เห็นตรงกันในการดำเนินโครงการในปี 2 ต่อ
โครงการครูเพื่อศิษย์สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง รูปแบบออนไลน์ ปี 2 ได้ยกระดับให้ ทีมโค้ช (Mentor) และโรงเรียนแกนนำ
ทำหน้าที่เป็นโรงเรียนแม่ข่ายของ กสศ.และมูลนิธิสยามกัมมาจล (พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา) มีความสามารถในการสร้าง PLC ONLINE เพื่อทำงานกับโรงเรียนเครือข่าย เป็นการขยายวงจรการสร้างการเรียนรู้ในรูปแบบ Online Coaching ให้ขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น
เป้าหมายการดำเนินงาน
01
เพื่อหนุนให้ ทีมโค้ช (Mentor)และโรงเรียนแกนนำ (โรงเรียนแม่ข่ายของ Mentor) จำนวนรวม 8 แห่ง สร้างการเรียนรู้ของผู้อำนวยการและครู ในโรงเรียนเครือข่ายของตน ในรูปแบบ Online PLC Coaching
02
เพื่อพัฒนาทักษะการเป็น facilitator ให้แก่ ทีมโค้ช (Mentor) และโรงเรียนแกนนำ (โรงเรียนแม่ข่ายของ Mentor)ให้สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ของเครือข่ายของผู้อำนวยการและครู มีทักษะในการตั้งคำถามกระตุ้นการเรียนรู้ และโยงไปสู่ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องได้ สามารถยกระดับความเข้าใจและการเรียนรู้ของผู้อำนวยและครู เพิ่มขึ้นจากเดิมกระตุ้นให้ผู้อำนวยและครู นำการเรียนรู้ในวง PLC ไปใช้พัฒนางานของตนเอง
4
ขอบเขตและแนวทางการดำเนินงาน
ในด้าน Online PLC จัดทำ 4 เวที ดังนี้
ในด้าน Online PLC จัดทำ 4 เวที ดังนี้
Timeline การดำเนินงานโครงการ ตุลาคม 2564 - กันยายน 2565
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เกิดช่องทางการเรียนรู้ร่วมกัน
ระหว่าง Mentor (ทีมโค้ช) / โรงเรียนแม่ข่าย / ผู้ทรงคุณวุฒิ และโรงเรียนเครือข่าย
ผ่านทาง Online Platform
ผ่านทาง Online Platform
เกิดเครือข่ายของ Mentor (ทีมโค้ช) / โรงเรียนแม่ข่าย
ที่มีความสามารถในการสร้างการเรียนรู้ ในรูปแบบ Online PLCCoaching
สามารถทำได้อย่างเป็นระบบ และนำกระบวนการดังกล่าว ไปขยายผลในโรงเรียน
ของตนและโรงเรียนในเครือข่ายที่ตนรับผิดชอบได้
สามารถทำได้อย่างเป็นระบบ และนำกระบวนการดังกล่าว ไปขยายผลในโรงเรียน
ของตนและโรงเรียนในเครือข่ายที่ตนรับผิดชอบได้
มีคลิปผลงานในการสื่อสารขยายผลและสร้างการเรียนรู้
ให้กับโรงเรียนที่เห็นความสำคัญและคุณค่าของการสร้างการเรียนรู้ในรูปแบบ
เวที Online PLC Coaching
เวที Online PLC Coaching
มีผลการประเมิน
ของ Mentor (ทีมโค้ช) / โรงเรียนแม่ข่าย ในการนำรูปแบบการสร้างการเรียนรู้
แบบเวที Online PLC Coachingไปใช้จนเกิดผลสัมฤทธิ์ในโรงเรียนและนักเรียน
แบบเวที Online PLC Coachingไปใช้จนเกิดผลสัมฤทธิ์ในโรงเรียนและนักเรียน
มีระบบฐานข้อมูล
ของ Mentor (ทีมโค้ช) / โรงเรียนแม่ข่าย / โรงเรียนเครือข่าย (ผู้อำนวยการและ
ครูแกนนำ) ในการทำงานร่วมกันต่อไป
ครูแกนนำ) ในการทำงานร่วมกันต่อไป