องค์ความรู้
“My Body” เรียนภาษาอังกฤษสบาย ๆ สไตล์ครูซาลาม๊ะ
เมื่อ "ภาษาอังกฤษ" ซึ่งเป็นภาษากลางที่ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศจึงมีประโยชน์มาก แต่สำหรับเด็กนักเรียนไทย “การเรียนภาษาอังกฤษจัดเป็นยาขม” การอ่านไม่ออก สะกดไม่ได้ ทำให้นักเรียนรู้สึกว่าภาษาอังกฤษเป็นเรื่องยาก ไม่อยากเรียน ครูซาลาม๊ะ เกษา (ครูม๊ะ) ซึ่งสอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตะโละใส จังหวัดสตูล จะทำอย่างไรให้การเรียนภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องยากและน่าเบื่ออีกต่อไป
“My Body” เรียนภาษาอังกฤษให้สนุก
.
หน่วยการเรียนการสอน “My Body” ถูกออกแบบมาให้มีเป้าหมายการเรียนรู้เรื่องคำศัพท์หมวดร่างกายในการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตะโละใส จังหวัดสตูล ตามกระบวนการ Active Learning 4 ขั้นตอน โดยครูซาลาม๊ะ เกษา (ครูม๊ะ) ได้ใช้กิจกรรมและสื่อต่าง ๆ มาช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนสอนเพื่อลดความเครียดในการเรียนของนักเรียนลง
- จิตตปัญญา
ครูซาลาม๊ะเริ่มกระบวนการด้วยการทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน ด้วยการให้ช่วยบอกคำศัพท์เกี่ยวกับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ที่เคยเรียนมาแล้ว และทำการทดสอบก่อนเรียน (Pre-assessment) เพื่อประเมินผลว่านักเรียนจำคำศัพท์ได้แค่ไหน
- การสอนและการใช้เครื่องมือ
ครูซาลาม๊ะนำเข้าสู่บทเรียนด้วยเครื่องมือที่ช่วยให้การเรียนภาษาอังกฤษในหน่วยนี้สนุกก ไม่เครียด นั่นคือ “เพลง Head ,Shoulder , Knees and Toes” ถูกนำมาใช้เป็นสื่อการสอนให้นักเรียนฝึกออกเสียงคำศัพท์ซึ่งเกี่ยวข้องกับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย พร้อมทำท่าประกอบ ซึ่งครูซาลาม๊ะ กล่าวว่า นอกจากเพลงจะช่วยสร้างความสนุกสนานในการเรียนแล้ว หากทำเป็นประจำเพลงยังเป็นสื่อที่ทำให้นักเรียนจำความหมายของคำศัพท์ได้เร็วขึ้นอีกด้วย
.
จากนั้นมีการใช้บัตรคำศัพท์ บัตรภาพ เครื่องมือช่วยสอนในการอ่านออกเสียง โดยคุณครูชูบัตรคำ/บัตรภาพแล้วให้นักเรียนอ่านพร้อมกัน คำไหนอ่านไม่ได้ครูจะช่วยเสริมช่วยบอก จัดให้ทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่ออ่านออกเสียงบัตรคำศัพท์และบัตรภาพ โดยคละกันระหว่างนักเรียนที่อ่านออก เขียนได้ (หัวหน้ากลุ่ม) กับนักเรียนอ่อนเพื่อให้ช่วยเหลือกันได้ ซึ่งการที่เด็กได้เรียนกับเพื่อนช่วยลดความอายลง กล้าอ่าน กล้าพูด ถึงแม้ไม่รู้ว่าคำที่อ่านนั้นจะถูกหรือผิดก็กล้ากว่าการอ่านต่อหน้าครู
- การฝึกปฏิบัติ
ในขั้นตอนนี้เป็นกิจกรรมใบงานรายบุคคล ครูครูจะมีใบงานให้นักเรียนนำคำศัพท์ไปเติมในช่องว่างของใบงาน (รูปคน) ที่ลูกศรชี้ไปที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งขั้นนี้พบว่าจะมีนักเรียนบางคนที่อ่านคำศัพท์ไม่ออก คุณครูต้องสังเกตและเขาไปช่วยอ่าน ช่วยสะกดให้ฟัง เพราะว่าถ้าไม่ช่วยเขาก็จะทำไม่ได้ และจะได้ใบงานที่ว่างเปล่า
- การทบทวนหลังปฏิบัติงาน (AAR)
ก่อนนำเข้าการ AAR ครูซาลาม๊ะจะให้นักเรียนอ่านคำศัพท์ที่ได้เรียนในคาบซ้ำอีกครั้งเพื่อทบทวนเนื้อหา จากนั้นจะใช้กระบวนการตั้งคำถาม เพื่อถอดบทเรียนให้นักเรียนเห็นพัฒนาการการเรียนรู้ของตัวเอง เช่น วันนี้ได้คำศัพท์อะไรบ้าง ปิดท้ายด้วยการทดสอบหลังเรียน (Post-test) เช่น การเขียนคำศัพท์ การอ่านออกเสียงและบอกความหมาย เป็นต้น ซึ่งพบว่านักเรียนอ่านและรู้จักคำศัพท์หมวดร่างกายตามเป้าหมายการเรียนรู้มากขึ้น แม้จะมีบางคนที่ยังอ่านไม่ออก แต่เครื่องมือในการเรียนรู้ที่เหมาะกับวัยสามารถทำให้บรรยากาศในการเรียนรู้ลดความตึงเครียดลง
.
.
จากความรู้สู่การปฏิบัติ
.
จากเรื่องเล่าของ “ครูม๊ะ” ซาลาม๊ะ เกษา ที่ใช้ช้กระบวนการ Active Learning 4 ขั้นตอน มาทำการออกแบบกระบวนการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมและสื่อต่าง ๆ มาช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนสอนเพื่อลดความเครียดในการเรียนของนักเรียนลง
.
หากพิจารณาจากสาระในหนังสือ “ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง” โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช แปลและเรียบเรียงไว้ จะเห็นบทบาทที่ครูม๊ะเชื่อมโยงใน 2 บท อย่างชัดเจน คือ บทที่ 5 เรียนระดับผิว (ตอนที่2) และ บทที่ 8 ประเมินผลกระทบ โดยมีรายละเอียดดังนี้
.
บทที่ 5 เรียนระดับผิว (ตอนที่2)
.
อ้างอิงเนื้อหาในหนังสือ “ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง” โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช บทที่ 5 เรียนระดับผิว (ตอนที่2) เนื้อหามีการระบุว่า ...ครูสอนภาษาต้องไม่ใช่แค่สอนไปตามหลักสูตรกำหนด ต้องมีหลักคิดช่วยกำหนดพฤติกรรมการสอนของครู เพื่อช่วยให้นักเรียนมีพื้นฐานทางภาษาที่มั่นคงแข็งแรง ซึ่งจะเป็นคุณต่อชีวิตในภายภาคหน้า ทักษะการมีคลังคำที่มีความสำคัญ (ใช้บ่อย) มีมาก และรู้ความหมายลึก ช่วยอ่านหนังสือได้คล่อง ได้ใจความ และสนุก...
จากเรื่องเล่า จะเห็นบทบาทของครูซาลาม๊ะ เกษา ดังนี้
.
- การใช้เครื่องมือช่วยจำ (Mnemonics)
โดยครูซาลาม๊ะได้ใช้ให้ เพลง My body พร้อมกับการทำท่าทางประกอบเพลง มาเป็นเครื่องช่วยจำ นอกจากทำให้เด็กเกิดความสนุกในการเรียนภาษาอังกฤษ และจำความหมายคำศัพท์ได้เร็วขึ้น ยังดึงดูดความสนใจผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ดี
- การใช้บัตรคำ
เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือ/สื่อ ที่ครูซาลาม๊ะ นำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ทั้งในรูปแบบของบัตรคำ/บัตรภาพ คำศัพท์ต่าง ๆ เกี่ยวกับร่างกาย โดยในบัตรประกอบด้วยคำศัพท์/ภาพ พร้อมความหมาย ช่วยให้นักเรียนเชื่อมโยงคำศัพท์กับความหมาย และจดจำคำศัพท์ได้ดีขึ้น โดยครูซาลาม๊ะใช้กระบวนการสอนสะกด และอ่านออกเสียงก่อน จากนั้นจึงฝึกให้แต่ละคนอ่าน พร้อมทำกิจกรรมทบทวน
- สอนให้อ่านมาก
เป็นกระบวนการที่ครูซาลาม๊ะใช้เพื่อกระตุ้นนิสัยรักกการอ่านของนักเรียน และช่วยแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่คล่องได้ โดยให้นักเรียนอ่านคำศัพท์ที่ได้เรียนในคาบ ซึ่งครูใช้วิธีสอนเน้น สอนย้ำ สอนทวน เพื่อทบทวนเนื้อหาตลอดกระบวนการ
- สร้างการเรียนแบบร่วมมือกับเพื่อน
โดยครูซาลาม๊ะใช้การทำกิจกรรมกลุ่มแบบคละผู้เรียน ในการฝึกสะกด และอ่านออกเสียง ทำให้เกิดบรรยากาศเพื่อนสอนเพื่อนขึ้นในห้องเรียน และทำให้ผู้เรียนมองความผิดพลาดเป็นโอกาสทางการเรียนรู้ และช่วยพัฒนาสมรรถนะในด้านอื่น ๆ แก่ผู้เรียน เช่น ความร่วมมือ การสื่อสาร และการจัดการ เป็นต้น ได้อีกด้วย
.
บทที่ 8 ประเมินผลกระทบ
.
จากเรื่องเล่า จะเห็นบทบาทของครูม๊ะที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาบทที่ 8 ประเมินผลกระทบ ของหนังสือ “ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง” โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ซึ่งมีเนื้อหา คือ
.
...สาระสำคัญ คือ ครูต้องประเมินผลกระทบของบทเรียนต่อการเรียนรู้ของนักเรียน และใช้ข้อมูลมาคิดดำเนินการปรับปรุงวิธีการสอนของตน รวมทั้งใช้ข้อมูลนักเรียนที่เรียนอ่อนและต้องการความช่วยเหลือ ในการดำเนินการช่วยเหลือเป็นรายคน เพื่อให้นักเรียนทุกคนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด...
.
จากเรื่องเล่า จะเห็นบทบาทของครูซาลาม๊ะ เกษา ดังนี้
.
- มีคุณสมบัติครูที่ตระหนักในหลักของบทเรียนที่ดี
- มีเป้าหมายการเรียนรู้ชัดเจน คือ การเรียนรู้เรื่องคำศัพท์หมวดร่างกาย
- ตั้งเกณฑ์ความสำเร็จของเป้าหมายการเรียนชัดเจน ด้วยการประเมินก่อนสอน-หลังสอน
- ตั้งเกณฑ์ความสำเร็จระดับคุณภาพชัดเจน นักเรียนเข้าใจง่าย และท้าทายให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายของตนเอง โดยอาศัยเครื่องมือช่วยจำอย่างเพลงและบัตรคำ เพื่อให้เด็กเกิดความเชื่อมโยงของเนื้อหาได้
- ทำให้นักเรียนรู้ว่าตัวเองอยู่จุดไหนของเกณฑ์ความสำเร็จ ด้วยการพูดคุยและ การให้คำแนะนำป้อนกลับเชิงคำถาม และช่วยเหลือผู้เรียนเป็นรายคน
- ประเมินก่อนสอน (Pre-assessment หรือ Pre-test)
- ใช้การถามคำถาม และการทำข้อสอบ
- ทำให้คุณครูรู้ความรู้พื้นฐานของนักเรียน
- นักเรียนได้รู้จักตนเอง ว่ามีความรู้เรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดร่างกายดีเพียงไร
- นำผลไปออกแบบดำเนินการช่วยเหลือนักเรียนระหว่างกระบวนการเรียนรู้
- ประเมินหลังสอน (Post-assessment หรือ Post-test)
- ดำเนินการในรูปแบบการอ่านออกเสียงคำและบอกความหมาย บอกชื่อคำศัพท์หมวดร่างกาย และทำโจทย์แบบเติมคำศัพท์ได้
- นำผลไปปรับการออกแบบการเรียนการสอนในครั้งต่อไป
.
.
เรียบเรียงข้อมูลจาก
.