สัมภาษณ์พิเศษ

Unique Teacher

จุด ติด ต่อ : Online PLC Coaching เสริมพลังสร้างครูผู้ก่อการ พัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ

อ่าน 35 นาที

การฝึกฝนการทำ Online PLC จะทำให้เกิดผลลัพธ์สำคัญ ครูและนักเรียนมีเป้าหมายชัดเจน ครูมีเป้าหมายการออกแบบการเรียนรู้ และนักเรียนเห็นเป้าหมายการเรียนรู้ของตนเอง “ครู” เรียนรู้วิธีจัดการเรียนรู้ให้ศิษย์เรียนบรรลุระดับเชื่อมโยงสมรรถนะได้ ประเมินเป็น พัฒนาร่วมกันด้วย PLC มีโค้ชร่วมจัดกระบวนการหนุน และการทำหน้าที่ครู ในปัจจุบันครูต้องเรียนรู้ตลอดไปไม่หยุดนิ่ง “โรงเรียน” ที่มี PLC แข็งแรง จะส่งผลต่อครู ผู้อำนวยการโรงเรียน และนักเรียน “ทีมโค้ช” สามารถใช้วิธีโค้ชออนไลน์ แบบ empower ไม่ใช่สอน...

เรียบเรียงโดย ศศิธร อบกลิ่น
1 กันยายน 2565
469
 
จุด ติด ต่อ  : Online PLC Coaching
เสริมพลังสร้างครูผู้ก่อการ พัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ
 

 

โครงการครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง : รูปแบบออนไลน์ปี 2 เป็นโครงการต่อเนื่องจากปีที่ 1 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิสยามกัมมาจล และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อหนุนให้  "8 ทีมโค้ช" ของ 2 เครือข่าย สร้างการเรียนรู้ของผู้อำนวยการและครู ในโรงเรียนเครือข่ายของตน ในรูปแบบ Online PLC Coaching และพัฒนาทักษะการเป็น facilitator ให้แก่ ทีมโค้ช (Mentor) และโรงเรียนแกนนำ (โรงเรียนแม่ข่ายของ Mentor) ให้สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้อำนวยและครู ให้มีทักษะในการตั้งคำถามกระตุ้นการเรียนรู้ และโยงไปสู่ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องได้ สามารถยกระดับความเข้าใจ และการเรียนรู้ของผู้อำนวยการและครู ให้เพิ่มขึ้นจากเดิม กระตุ้นให้ผู้อำนวยการและครู นำการเรียนรู้ในวง PLC ไปใช้พัฒนางานของตนเอง โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี ( ก.ย.64-ก.ย.65)

“คุณค่าของโครงการ Online PLC  ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง”

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ที่ปรึกษากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า การฝึกฝนการทำ Online PLC จะทำให้เกิดผลลัพธ์สำคัญ ครูและนักเรียนมีเป้าหมายชัดเจน ครูมีเป้าหมายการออกแบบการเรียนรู้ และนักเรียนเห็นเป้าหมายการเรียนรู้ของตนเอง “ครู” เรียนรู้วิธีจัดการเรียนรู้ให้ศิษย์เรียนบรรลุระดับเชื่อมโยงสมรรถนะได้ ประเมินเป็น พัฒนาร่วมกันด้วย PLC มีโค้ชร่วมจัดกระบวนการหนุน และการทำหน้าที่ครู ในปัจจุบันครูต้องเรียนรู้ตลอดไปไม่หยุดนิ่ง  “โรงเรียน” ที่มี PLC แข็งแรง จะส่งผลต่อครู ผู้อำนวยการโรงเรียน และนักเรียน “ทีมโค้ช” สามารถใช้วิธีโค้ชออนไลน์ แบบ empower ไม่ใช่สอน ฝึกให้ครูทำเองเป็น หนุนให้ครูเป็น Agentic Teacher (ครูผู้ก่อการ) และทั้งหมดนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือจะทำให้คุณภาพพลเมืองไทยดีขึ้นในอีก 10-20 ปีข้างหน้า

“กระบวนการที่ทำกันนี้ ควรเกิดขึ้นที่โรงเรียน เป็น PLC ที่จะมีกระบวนการสั้นขึ้นอาจเป็น 1 เดือนหรือน้อยกว่านั้น PLC ต้องเป็น center around  จดจ่อเอาใจใส่อยู่ที่ตัวนักเรียน อยู่ที่การเรียนรู้ของนักเรียน

หวังว่าทีมโค้ชทั้ง 8 ทีมนี้ จะได้ช่วยกันสร้างโรงเรียนพัฒนาตนเองตัวอย่างให้แก่วงการศึกษาไทย เพื่อไปขยายผลได้ คือการสร้างโรงเรียนที่เป็น Chang Agent ได้”


Online PLC Coaching : เวทีการเรียนรู้ของครู

นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล และที่ปรึกษาโครงการครูเพื่อศิษย์ฯ แนะนำจุดเด่นและกระบวนการทำงาน ในแบบ Online PLC Coaching  มีจุดเด่น คือ มีรูปแบบกระบวนการ Online PLC Coaching ที่ยกระดับการเรียนรู้ให้แก่ครู ตั้งแต่กระบวนการเตรียมครูต้นเรื่อง จากการให้ครูต้นเรื่องถอดบทเรียนเพื่อให้เห็นประเด็นที่มีความหมายในกระบวนการทำงานก่อนนำเสนอ  ทำให้ครูเก่งขึ้น เกิดการต่อเติมความคิด และประสบการณ์ ระหว่างครูต้นเรื่อง และผู้เข้าร่วมในเวที  ทำให้ได้เห็นประสบการณ์ที่หลากหลายเพิ่มขึ้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามเครือข่าย ทั้งเรื่องเทคนิค วิธีคิด ที่แตกต่างกัน ทำให้ได้เรียนรู้วิธีคิดและเครื่องมือที่หลากหลาย  และการเติมเต็มจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในเวที ช่วยยกระดับการเรียนรู้ของครูและผู้เข้าร่วมเวที  ทำให้ครูเห็นคุณค่า ความหมายสิ่งที่ทำ จะการพัฒนาให้ดีขึ้นอีกได้อย่างไร   การเรียนรู้ผ่านเวทีในรูปแบบ online ก้าวข้ามข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สถานที่ และงบประมาณ  มีการบันทึกเก็บประเด็นสาระสำคัญในการเรียนรู้ และนำมาแชร์ เพื่อนำมาเก็บไว้ในเว็บไซต์ หรือพื้นที่ส่วนกลาง และกลับมาดูซ้ำได้ 
 

ในปีที่ 2 ของโครงการฯ มูลนิธิสยามกัมมาจลเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ช่วยสนับสนุน ให้ 8 ทีมโค้ชนำเครื่องมือ Online PLC Coaching ไปดำเนินการเองเพื่อเกิดประสบการณ์เรียนรู้จากการปฏิบัติ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ  

2.jpg

1) การสร้าง Platform Online  หลักการของการทำ Online PLC Coaching ต้องการให้เครือข่ายมีระบบไอทีที่ดีรองรับการเรียนรู้ได้ไม่สะดุด (ใช้ระบบ ZOOM Cloud Meetings) โดยการปรับระบบไอทีนั้นมูลนิธิฯจะสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญช่วยแนะนำ  สร้างพื้นที่เก็บคลังความรู้ของเครือข่ายตนเอง (ชุดความรู้/ชุดประสบการณ์) การจัดเก็บในรูปแบบออนไลน์ สะดวกต่อการนำข้อมูลไปขยายผล สร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ จากระบบที่โรงเรียนทำอยู่แล้วมาทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้น เช่น Facebook และ Line Group เพื่อขยายวงการเรียนรู้ของกลุ่ม  และแลกเปลี่ยนกระบวนการสร้างการเรียนรู้ของตนเองและกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายอื่น ๆ 

  • การค้นหา – คัดเลือดครูต้นเรื่อง ด้วยวิธีการคัดเลือกจากการให้ครูส่งเรื่องเล่า ให้ครูทุกคนที่อยู่

ในเครือข่ายเขียนเล่าเรื่องงานของตน  ประกอบด้วย แนวคิดการออกแบบแผนการเรียนรู้ ที่ระบุถึงเป้าหมาย กระบวนการ และวิธีประเมินผล โดยระบุให้ชัดเจน ประสบการณ์ในการนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปปฏิบัติในห้องเรียน บทบาทของตนเองในฐานะครูโค้ช หรือ Facilitator ที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างประจักษ์ชัด (Visible Learning)  ซึ่งระหว่างทำหน้าที่ครูโค้ชนั้นพบเห็นปัญหาของนักเรียน หรือพบความโดดเด่นอะไร และครูทำอย่างไรในบทบาทโค้ช ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ที่สะท้อนให้เห็นว่านักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างไร เป็นไปตามเป้าหมายที่ครูวางไว้หรือไม่ ทำให้สามารถคัดเลือกครูที่เป็น good practice ด้านต่าง ๆ และเลือกคนที่มีความโดดเด่นในประเด็นที่ต้องการเชิญมาแลกเปลี่ยน

  • การเตรียมครูต้นเรื่อง เป็นขั้นตอนทำงานร่วมกับ Facilitator ประเด็นสำคัญของการเตรียมการ

เริ่มจาก การถอดบทเรียน  เพื่อให้ได้เห็นจุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง กระบวนการหลักคือแสดงให้เห็นเป้าหมายการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู และผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดกับนักเรียน   เตรียมสื่อในการนำเสนอที่ระบุถึง เป้าหมาย สมรรถนะที่เกิดขึ้นกับนักเรียน กระบวนการเรียนรู้ และวิธีประเมินผล  และที่สำคัญต้องแสดงให้เห็นบทบาทครูโค้ช และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน  ประโยชน์ของการเตรียมครูต้นเรื่อง คือ ทำให้ครูต้นเรื่องเห็นประเด็นสำคัญของเรื่องเล่าและบทบาทครูในฐานะครูโค้ชของตนเองชัดเจนขึ้น สามารถสื่อสารได้ตรงประเด็นภายในระยะเวลาที่กำหนด

  • การจัดเตรียม Facilitator บทบาทของ Fa เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  คือ เป็นผู้สร้างบรรยากาศ

พูดคุย สร้างความไว้วางใจให้เพื่อนเปิดใจคุย  อีกบทบาทหนึ่ง คือ การตั้งคำถาม ชวนคุย เพื่อให้ครูต้นเรื่องสามารถเล่าเรื่องที่เป็นสาระสำคัญในการเรียนรู้ เป็นคำถามที่ต้องเจาะให้ผู้พูด พูดในสิ่งที่เป็นประเด็นของการเรียนรู้  การเตรียมตัวของ Fa  คือ ต้องศึกษาข้อมูลครูต้นเรื่องจากสื่อหรือเอกสาร จากนั้นพูดคุยกับครูต้นเรื่องเพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีและทำความเข้าใจเนื้อหาให้ชัดเจน  ร่วมออกแบบวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูต้นเรื่องเพื่อกำหนดประเด็นในการจัดการเรียนรู้ การวางแผนขอบเขตในการนำเสนอ และออกแบบชุดคำถามหรือกำหนดประเด็นให้เพื่อนครูเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดในประเด็นการเรียนรู้นั้น

  • การสร้างเครือข่ายผู้ทรงคุณวุฒิฯ และผู้เชี่ยวชาญ มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิผู้ที่มีความ

เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการพัฒนาครูและผู้อำนวยการเข้าไปร่วมให้ความเห็นในเวที โดยวางบทบาทผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้มาให้ข้อเสนอแนะ เติมเต็มแก่ครูต้นเรื่อง  และครูในวง PLC เพื่อให้ครูเห็นบทบาทที่สำคัญของตนเอง ช่วยยกระดับการเรียนรู้ของวงให้เข้มข้น เห็นคุณค่าของงาน และเสริมพลังให้ครูและผู้อำนวยการมีความมั่นใจและกลับไปพัฒนางานของตนเอง

  • การจับประเด็น สรุปองค์ความรู้ และเผยแพร่สื่อสาร โดยใช้แนวทาง KM ให้เห็นแนวคิดการ

ออกแบบแผนการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ ชุดคำถามที่ครูต้นเรื่องใช้ และวิธีการติดตามผลและการใช้ Feedback  ระหว่างทางก็จะมีชุดความรู้เกิดขึ้นมากมาย  ให้ผู้มาทำหน้าที่เก็บประเด็น 1-2 คน และนำองค์ความรู้ที่ได้เผยแพร่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้แก่ Facebook, Line Group, Website, YouTube เพื่อให้ผู้ร่วมเรียนรู้ได้กลับมาดูทบทวนซ้ำได้

นอกจากนี้ระหว่าง 8 ทีมโค้ชไปทำกับโรงเรียนแล้วมีข้อติดขัด ปัญหา/อุปสรรค โครงการฯจัดให้มีเวที

พี่เลี้ยงเพื่อเป็นเวทีให้ทีมโค้ชได้นำประสบการณ์การจัด Online PLC Coaching มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทีมอื่นๆ และรับการเติมเต็ม แนวทางแก้ไขปัญหา ข้อติดขัดต่างๆ เป็นระยะ รวมถึงการจัดเวทีตลาดนัดนิทรรศการออนไลน์ ให้ 8 ทีมโค้ชนำเสนอผลงานของแต่ละเครือข่าย เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งผลสำเร็จและสิ่งที่ต้องการพัฒนาต่อยอด 

ตลอดการดำเนินโครงการในปีที่ 2 ปรากฏผลสำคัญ คือ ทีมโค้ชสามารถใช้ Online PLC Coaching

เป็นเครืองมือพัฒนาครูได้อย่างดี ทำให้ครูมั่นใจ เห็นคุณค่าและความหมายของ “ครูเพื่อศิษย์”จากประสบการณ์จริงของตนเองและเพื่อนครูในและนอกเครือข่าย เห็นความก้าวหน้าของครูและผู้บริหารใช้ PLC เป็นเครื่องมือสร้างวงจรการเรียนรู้และพัฒนาในโรงเรียนอย่างเป็นระบบ (ทำเองได้)  เพื่อจัดการศึกษาของโรงเรียนอย่างมีคุณภาพได้ดีขึ้น

          นอกจากนี้ PLC ช่วยสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของพื้นที่ จากการมีศึกษานิเทศก์ บุคลากรทางการศึกษา และภาคประชาสังคมในพื้นที่  หรือเขตพื้นที่การศึกษา มาเป็นเจ้าภาพทำต่อ จะสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของพื้นที่ได้ ฝากเป็นแนวทางที่ กสศ. น่าจะสนับสนุนต่อไป และหากจะมีการจัดมหกรรมการศึกษา ก็สามารถนำ Good Practice ที่กระจายอยู่ทั้ง 8 ทีมโค้ช มาสื่อสารขยายออกไปให้กว้างขวางได้

จุด ติด ต่อ : ความสำเร็จของ Online PLC Coaching

ดร.อุดม วงษ์สิงห์   ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  กล่าวว่า จากฐานข้อมูลของโรงเรียนพัฒนาตนเองกว่า 700 โรงเรียน พบว่าประมาณ 40 % มีแววที่จะเริ่มเดินเร็วขึ้นได้ จากการพัฒนาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ในปีนี้จึงขยายผลโดยใช้เครื่องมือรูปแบบ Online PLC Coaching  มาเสริมให้การพัฒนาของโรงเรียนต่าง ๆ รวมทั้งทีมโค้ชทั้ง 8 ทีมที่มีฐานของโรงเรียนที่เป็นรูปธรรมจะได้นำมาแลกเปลี่ยนกันด้วยกระบวนการรูปแบบ Online PLC Coaching  ให้โรงเรียนเกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นวงจรแห่งการพัฒนาที่จะวนไปเรื่อย ๆ  จะมีเครือข่ายครูผู้ก่อการที่จะมีมากขึ้น ที่สำคัญคือ เครือข่ายทั้งครูและนักเรียนเหล่านี้ก็จะมีการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกันด้วย

ปีแรกนับเป็น “จุด”เริ่มต้น โดยมีมลนิธิสยามกัมมาจลเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินการ  ปีที่สองนับเป็น “ติด” และเห็นผลที่เกิดขึ้นจากการใช้แพลตฟอร์ม Online PLC  ที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในการเรียนรู้ร่วมกัน (จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19)  เป็นโครงสร้างให้เกิดชุมชนการเรียนรู้  และตอนนี้มีวงรอบที่ 2 ในระดับเครือข่ายเกิดขึ้นแล้ว  และดังที่มีผู้สะท้อนว่า “ถ้าเราจะไปตามถอดครูเป็นปัจเจกบุคคล  เราเห็น “ครูเปลี่ยนแปลงอย่างมีความสุข” เป็นคำที่ฟังแล้วทำให้รู้สึกเห็นแนวโน้มว่า หากการดำเนินงานในปีที่สาม สามารถกระจายเป็นดาวออกไปได้ 

 ฉะนั้นในปีต่อไป คือ ปีที่สาม จะต้อง “ต่อ” ด้วยแนวทางใหม่ โดยวันนี้มี 8 ทีมโค้ชเป็นเสาหลักและจะเดินต่อไปได้  ซึ่ง กสศ.จะได้มีการออกแบบกระบวนการสนับสนุนต่อไป 


---------------------------------------------------------------------
บทความ
โครงการครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง : รูปแบบออนไลน์  ปี 2
สนับสนุนโดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และมูลนิธิสยามกัมมาจล

ONLINE
PLC
COACHING
teacher
โครงการครูเพื่อศิษย์ฯ
เวทีการเรียนรู้ของครู
พัฒนาครู
พัฒนาการจัดการเรียนการสอน
การศึกษาไทย
toom_TTIX
นักเขียน
ศศิธร อบกลิ่น
ทีมสื่อสาร kidkonkwa
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
profile
กรุณา Login ก่อน comment