1280570 พัฒนาครูแกนนำ (10)

Reflection

พัฒนาครูแกนนำ สู่การยกระดับคุณภาพห้องเรียน

การเรียนรู้โครงงานวิจัย ชั้น ป.6 ที่ใช้เครื่องมือ Open Approach และการวางแผนให้เกิดการใช้ Metacognition ในนักเรียน : คุณครูวิสาขา ข่าทิพย์พาที โรงเรียนเพลินพัฒนา

อ่าน 21 นาที

จากบทความ สู่การนำไปใช้จริงในห้องเรียน ถอดบทเรียนการเรียนรู้สู่หนังสือ "ครูและนักเรียนเป็นนักพัฒนาตนเอง" : กรณีคุณครูวิสาขา ข่าทิพย์พาที โรงเรียนเพลินพัฒนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร ภายใต้โครงการพัฒนาครูแกนนำ สู่การยกระดับคุณภาพห้องเรียน

เรียบเรียงโดย WinWin
12 ธันวาคม 2566
141


"โครงงานวิจัยของโรงเรียนเพลินพัฒนา คุณครูผู้สอนจะเป็นครูที่สอนวิชาสังคมและวิทยาศาสตร์ เราจะสอนโครงงานประจำภาค ตั้งแต่เทอมแรกคู่ขนานไปกับวิชาวิทยาศาสตร์และสังคม โจทย์วิจัยคือ ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในจังหวัดสมุทรสงคราม กรณีศึกษา ชุมชนอัมพวาในสมุทรสงคราม"

"เราพบว่าอัมพวาเป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่ง มีการท่องเที่ยวกระแสหลักตามกระแสทั่วไป ไปชิม ไปชม ไปช็อป ไปแชะ ไม่ได้ไปในเชิงสร้างสรรค์ที่ดึงอัตลักษณ์ วิถีชีวิตหรือจุดเด่นของผู้คนในสมุทรสงครามออกมา เราก็พาเด็ก ๆ ไปศึกษา เพื่อจะมาหาปัจจัยความสำเร็จ ในการทำธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ที่นี่คืออะไร" นี่คือโจทย์ที่คุณครูวิสาขา ชวนให้นักเรียนได้ก้าวออกไปค้นหาคำตอบร่วมกัน

Slide3.PNG
โครงงานวิจัย QGTR

การทำโครงงานวิจัยประจำภาค ใช้เวลา 20 สัปดาห์ โครงงานวิจัย QGTR ที่ใส่ Kolb’s Cycle ลงไป ในแต่ละขั้นก็สามารถเกิด Kolb’s Cycle ได้ งานวิจัยของโรงเรียนเพลินพัฒนาก็สามารถเกิด Kolb’s Cycle ภายในคาบเรียน หรือในแต่ละขั้นตอน อย่างเช่น ขั้น Q อาจจะไม่ได้อยู่ภายในคาบเดียว อาจจะมีหลายครั้ง หรือหลายสัปดาห์ที่จะจบในขั้นตอนนี้ หรือ QGTR ก็จะเกิดทั้งหมด 1 loop ของ Kolb’s Cycle ด้วย 

สิ่งที่คุณครูวิสาขานำมาเล่าเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จะเป็นขั้น Test

Slide4.PNG
ขั้น Test 

ในงานวิจัยของชั้น 6 เด็ก ๆ จะต้องไปภาคสนาม จะต้องไปเก็บข้อมูลงานวิจัยตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้

ก่อนที่จะไปภาคสนาม เด็กๆจะต้องเกิดขั้นทดสอบ (Test) ก่อน นักเรียนจะต้องวางแผนก่อนที่จะไปภาคสนาม ทำให้เขาได้วางแผนงานวิจัย ว่าจะต้องทำอะไรต่อจากนี้ แล้วการที่จะพิสูจน์สมมติฐานของนักเรียนได้ เขาต้องทำอะไรบ้าง

Slide5.PNG
Slide8.PNG
Concrete Experience : สัปดาห์ที่ 3 ในขั้น Test 
นักเรียนได้ลงมือทำ ได้เริ่มออกแบบ ได้เข้าใจเครื่องมือของตัวเอง หรือเลือกในสิ่งที่ตัวเองถนัด แล้วก็ลองทดสอบในเครื่องมือ แต่ยังไม่ได้เต็มรูปแบบ กระบวนการที่ใช้ก็จะเป็น Open Approach เปิดโจทย์ในแต่ละขั้น แล้วเราก็จะให้เด็ก Metacognition (การใคร่ครวญวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ การทำงานของตนเอง) เห็นตัวเองในการทำงาน การเรียนรู้ของตัวเอง สิ่งที่คุณครูเห็น เด็กวางแผนและต้องสร้างเครื่องมือ และรู้ว่าปลายทางจะเกิดอะไรขึ้น

สิ่งที่นักเรียนสะท้อนไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเลือกใช้คำที่เข้าใจง่าย หรือใช้คำที่ถามใครแล้วไม่เกิดคำถาม ในห้องเรียนเราจะสอนเด็กว่า อัตลักษณ์ของที่สมุทรสงครามคืออะไร เด็กบางคนก็ใช้คำนี้ตรง ๆ จึงเกิดคำถามว่าถ้าเราไปเก็บข้อมูลด้วยการใช้คำว่า "อัตลักษณ์" ไปถาม คิดว่าชาวบ้านจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจอย่างไร แล้วเด็กก็คิดต่อว่า จะใช้คำอะไรได้บ้าง ที่จะเกิดความเข้าใจได้ง่าย เช่น จุดเด่น หรือ สิ่งที่พูดถึงที่นี่แล้วคนนึกถึงคืออะไร เขาก็จะมีคลังคำมากขึ้น

Slide10.PNG
ตกผลึกการเรียนรู้สู่การพัฒนาเครื่องมือ
มีการออกแบบเครื่องมือและเอาไปปรับปรุงงานของตัวเอง จนได้ชุดเครื่องมือที่จะไปเก็บข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นแบบสอบถามสังเกตหรือสัมภาษณ์ กระบวนการที่ครูใช้คือ Open Approach และ Metacognition ตลอดเวลา เพื่อให้นักเรียนรู้ว่า ตัวเองอยู่ตรงไหน ต้องทำอะไร พัฒนาอะไร จนไปถึงภาคสนาม เมื่อไปถึงเขาก็จะได้ลงมือเก็บข้อมูลเลย มีทั้งการสัมภาษณ์วิทยากรส่วนตัว คนในชุมชน หรือนักท่องเที่ยว หรือพนักงาน

ครูพบว่า นักเรียนมีความตั้งใจที่จะเก็บข้อมูล  แต่ก็มีความเขินอายบ้าง ไม่กล้าถามบ้าง ครูก็จะคอยเสริมพลังว่า ไม่เป็นไร วิทยากรยินดีให้ข้อมูล นักเรียนก็ได้ลงมือทำและเกิดประสบการณ์ของตัวเอง

ในภาคสนามทุกๆ ช่วงเย็น ครูจะชวนนักเรียนมาประมวลความรู้ร่วมกัน ในการประมวลความรู้ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ นักเรียนได้เอาข้อมูลเหล่านั้นมาเขียนร่วมกัน ระหว่างที่ครูให้โจทย์ไปและนักเรียนนั่งทำ ก็จะได้ฟังประสบการณ์ที่แตกต่างกัน นำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนคุยกัน และเดินดูงานของเพื่อน

ระหว่างนักเรียนเดินดูงานครูก็สังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น บางคนก็บอกว่า ทำไมเพื่อนเขียนแบบนี้ ไม่เหมือนของเราเลย อันนี้ดีมากเลย แต่อันนี้ของเราดีกว่านะ นักเรีนก็จะเกิดกระบวนการอะไรบางอย่าง การ Metacognition กับงานของเพื่อน

ครูก็ถามต่อไปว่า วันนี้จะต้องทำอะไรอีกบ้าง เขาก็บอกว่า จะต้องปรับเครื่องมือให้ดีขึ้น คนไหนคิดว่างานของตัวเองดีแล้วก็เอามาให้คุณครูดู ครูก็มีการ Feedback และเขาก็นำกลับไปปรับ ก็จะทำให้เครื่องมือเขาสมบูรณ์มากขึ้น และจะมีช่วงที่เพื่อนได้มาศึกษาเครื่องมือ ทุกคนก็จะเดินดูว่าเพื่อนทำอะไร เด็กที่ได้รับ Feedback ไปแก้ไข ก็เหมือนเป็นตัวอย่างที่ดีให้เพื่อน เพื่อนก็ได้เอาไปปรับของตัวเอง และเอามาแลกเปลี่ยนกัน 

 

วัดเจตคติเพื่อเข้าใจนักเรียน
ครูก็ได้วัดเจตคติทุกครั้ง สิ่งที่เราเห็นในห้องเรียน กับสิ่งที่เด็กรู้สึก เป็นไปตามสิ่งที่ครูคิดเอาไว้หรือไม่ เห็นได้จากตารางว่า เด็กเข้าใจ

Slide11.PNG
นี่คืองานที่เกิดขึ้นที่ภาคสนาม ก่อนปรับและหลังปรับจะเห็นความชัดเจนในหัวข้อเพิ่มมากขึ้น งานก็จะดูมีพัฒนาการมากขึ้น 

Slide18.PNG

ฉะนั้น VASK ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนก็คือ นักเรียนเห็นคุณค่าของเพื่อนและกระตือรือร้นในการเก็บข้อมูลจากงานของเพื่อน นักเรียนมีทัศนคติที่ดีในการทำงานร่วมกันและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น เขาปรับงานของตัวเองโดยที่ครูไม่ได้สั่ง เขารู้สึกว่าปรับงานแล้วงานเขาพัฒนาและดีขึ้น จากการที่ได้เดินอ่านงานของเพื่อน ก็จะมีทักษะการอ่านจับประเด็น คัดเลือกข้อมูลที่เป็นประโยชน์และน่าจะเอาไปเติมในงานของตัวเอง นักเรียนได้ความรู้ที่จะมาพิสูจน์สมมติฐานมากขึ้น 


คุณค่าที่ครูได้รับจากการพัฒนาตนเอง

"สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ รู้สึกขอบคุณทุกคนที่เข้ามาในวันนี้ ที่สร้างประสบการณ์ให้เรา และได้เรียนรู้ร่วมกัน มีมุมต่างๆ ที่แตกต่างกัน ความแตกต่างทำให้เราเห็นอะไรบางอย่าง ความสงสัยหรือความชื่นชมก็เป็นกำลังใจให้ทุกคนพัฒนาตัวเองต่อไป"

"Kolb’s Learning Cycle เป็นการฝึกการทำงานของสมอง รู้สึกว่าอยากจะเอาไปใส่ให้ครบวงจรมากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ถ้าทำไปซ้ำๆ สมองน่าจะทำงานในระบบนั้นได้ดี รู้สึกว่าถ้าเราเอาสิ่งนี้ไปให้เด็ก ให้ครบวงจรบ่อยๆกับเด็ก เด็กน่าจะเกิดการพัฒนาตัวเองจากสมองของเขา และได้ปรับทั้งเด็กและครูไปด้วยกัน"

"ถ้าเราสร้าง VA ให้ชัดกว่านี้ พยายามติดตั้งเครื่องมือนี้ให้กับเด็ก คือมองอะไรก็ต้องคิดแล้วว่าสิ่งนี้ควรไม่ควร อาจจะไม่ใช่ดีหรือไม่ดี แต่สิ่งนี้เกิดคุณค่าหรือประโยชน์อะไร ถ้าให้เด็กไปทุกครั้งแล้วเด็กเกิดสิ่งนี้ ก็จะเป็นสิ่งที่ติดตัว ทำอะไรบนคุณค่าก่อนที่จะคิดถึงเรื่องอื่น"












ที่มา : กระบวนการถอดบทเรียน พัฒนา และเติมเต็ม ในเวที PLC จำนวน 6 ครั้ง และ เวทีพี่เลี้ยง จำนวน 6 ครั้ง ภายใต้โครงการพัฒนาครูแกนนำ สู่การยกระดับคุณภาพห้องเรียน
โครงการพัฒนาครูแกนนำสู่การยกระดับคุณภาพห้องเรียน
ครูและนักเรียนเป็นนักพัฒนาตนเอง
โรงเรียนเพลินพัฒนา
กสศ
scbf
156213908_1856319284535586_7967657720299606802_n
นักเขียน
WinWin
อยากให้เรื่องการศึกษา...เข้าใจง่าย
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
profile
กรุณา Login ก่อน comment