สำเนาของ Quote template เวทีที่ 1 (1280 x 570 px) (1)

องค์ความรู้

Knowledge Center

สอนเสวนาสู่การเรียนรู้เชิงรุก

อ่าน 10 นาที

การสอนเสวนาคืออะไร และคุณค่าของการนำไปใช้ในชั้นเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เชิงรุก จากคำกล่าวเปิดโครงการ โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช

เรียบเรียงโดย WinWin
22 ตุลาคม 2564
441

สำเนาของ Quote template เวทีที่ 1 (750 x 565 px).png

Hilight

  • สอนเสวนา คือการที่ครูชวนนักเรียน Dialogue เพื่อให้เกิด Active Learning 
  • การพูดคุยกันก็เป็นส่วนหนึ่งของ Learning By Doing คำพูดของครูมีพลังสูงมากต่อการเรียนรู้ หากครูมีทักษะในการพูดอย่างเหมาะสม
  • ครูใช้การให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) หรือ การพูดสนองเพื่อให้เด็กคิดต่อ (Feed Forward)  แทนการประเมินตัดสินถูก-ผิด (Evaluation)

 


ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช รองประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล ได้บอกเล่าความหมายของการ “สอนเสวนา” ในการกล่าวเปิด “เวทีสานเสวนาเพื่อพัฒนาครู ครั้งที่1”  ไว้อย่างน่าสนใจ และชวนให้เราได้ใคร่ครวญถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในมิติที่ลึกมากขึ้น 

 

การสอนเสวนา คืออะไร?

จากหนังสือ “สอนเสวนาสู่การเรียนรู้เชิงรุก” ความหมายของการสอนเสวนา คือ   วิธีการที่ครูสอนนักเรียนโดยการชวนนักเรียนเสวนา (Dialogue) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 


เป็นที่รู้กันดีว่า
ในปัจจุบันการเรียนรู้แบบตั้งรับ (Passive Learning)  ไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้จริง เพราะฉะนั้นการเรียนรู้จึงต้องจัดให้เป็นการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ทั้งหมดหรือมากที่สุดเท่าที่จะมากได้  


ทำอย่างไรจึงจะเป็นการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

ที่จริงแล้วการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) คือการ Learning by Doing เป็นการเรียนรู้ผ่านการกระทำ “การพูด” ก็ถือเป็นการกระทำอย่างหนึ่ง ก่อนที่จะพูดได้ต้องเกิดการคิดก่อนแล้วจึงพูดออกมา ดังนั้น การพูดคุยกันก็เป็นส่วนหนึ่งของ Learning by Doing และในหนังสือเล่มนี้จะชี้ให้เห็นว่าคำพูดของครูมีหลากหลายรูปแบบและมีพลังสูงมากต่อการเรียนรู้ของลูกศิษย์ หากครูมีทักษะในการพูดอย่างเหมาะสมและถูกต้องตามจังหวะของการเรียนรู้  


พูดอย่างมีเป้าหมายเพื่อสร้างการเรียนรู้

ในหนังสือได้ระบุเป้าหมายของการพูดไว้ว่า มี 6 เป้าหมายด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือการพูดของครูเพื่อกระตุ้นการเรียนของนักเรียน 

การกระตุ้นการเรียนรู้ที่ใช้กันทั่วไป คือ IRE (Initiated, Response, and Evaluation) Initiated คือการเริ่มต้นโดยอาจจะใช้คำถาม คำพูดบางคำที่ก่อความสนใจ แล้วกระตุ้นให้นักเรียนโต้ตอบ (Response) จากนั้นครูก็ประเมิน (Evaluation) ว่าเด็กเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นรูปแบบดั้งเดิมของการจัดการเรียนรู้ 

แต่หนังสือ “สอนเสวนาสู่การเรียนรู้เชิงรุก” ได้นำเสนอว่า ถ้าจะให้ดี ควรจะเป็น IRF คือใช้การให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) แทนการประเมินตัดสิน (Evaluation) กล่าวคือ ครูไม่ใช้การประเมินถูกหรือผิด เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม แต่ว่าใช้การ Feedback นักเรียนว่าที่เขาพูดเป็นอย่างไร อีกทั้ง หนังสือเล่มนี้ได้เสนอเพิ่มเติมว่าตัว F ไม่ควรจะเป็นเพียง Feedback แต่ควรจะเป็นการ Feed Forward คือ การพูดสนองเพื่อให้นักเรียนได้คิดต่อไปอีก เป็นต้น  ซึ่งในหนังสือจะมีเรื่องราวทำนองนี้อีกมากมาย เป้าหมายเพื่อให้นักเรียน สามารถเรียนรู้ได้ในมิติที่ลึกขึ้น เกิดเป็น Deep Thinking Skill

.

.

เรียบเรียงข้อมูลจาก

โครงการสานเสวนาเพื่อพัฒนาครู : เวทีสานเสวนาเพื่อพัฒนาครู ครั้งที่ 1

ช่วงการกล่าวเปิดโครงการ

โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช รองประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล


ร่วมเรียนรู้ในรูปแบบวิดีโอ


 

 

โครงการสานเสวนาเพื่อพัฒนาครู
เวทีสานเสวนาครั้งที่1
สอนเสวนา
Dialogue
Feed Forward
Active Learning
การเรียนรู้เชิงรุก
156213908_1856319284535586_7967657720299606802_n
นักเขียน
WinWin
อยากให้เรื่องการศึกษา...เข้าใจง่าย
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
profile
กรุณา Login ก่อน comment